จันทบุรี - สำนักงานประมงจังหวัดจันทบุรี
ร่วมกับศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งจันทบุรี
ได้ลงพื้นที่สำรวมข้อมูลเกี่ยวกับการอนุรักษ์สัตว์น้ำ อย่างปลาบู่มหิดล
เพื่อเป็นการส่งเสริม และอนุรักษ์สัตว์น้ำหายากทางท้องทะเล
วันที่ 18 ม.ค.56
ที่ท่าเทียบเรือประมงอำเภอท่าแฉลบ จังหวัดจันทบุรี สำนักงานประมงจังหวัดจันทบุรี
ร่วมกับศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งจันทบุรี พร้อมด้วยหน่วยงานตำรวจน้ำ 4 กองกำกับการ 5 กองบังคับการตำรวจน้ำ และเทศบาลตำบลบางกะจะ
ผู้ใหญ่บ้านบางกะจะ ได้ลงพื้นที่สำรวจแหล่งอาศัยปลาบู่มหิดล
ที่บริเวณปากน้ำอำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี จุดโรงปลาป่น
ซึ่งเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำหายากอย่างปลาบู่มหิดล
ที่ได้มีการค้นพบเป็นครั้งแรกของประวัติศาสตร์ไทย
โดยมีคณะนักประดาน้ำจากศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลอ่าวไทยฝั่งตะวันออกระยอง
ดำน้ำทำการสำรวจประชากรปลาบู่มหิดลใต้ท้องทะเล บริเวณพื้นที่หมู่ที่ 1 ตำบลบางกะไชย อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี ซึ่งได้มีการนำกล้องภาพนิ่ง
และภาพเคลื่อนไหวลงไปบันทึกภาพใต้น้ำด้วย
ทั้งนี้ สำหรับปลาบู่มหิดล ถูกค้นพบโดย ดร.ฮิวส์ แมคคอมิค สมิธ
อธิบดีกรมประมงคนแรกของประเทศไทย ซึ่งชื่อสกุลปลาบู่มหิดล
ได้ตั้งขึ้นเพื่อถวายเป็นพระเกียรติแด่สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช
กรมหลวงสงขลานครินทร์ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ที่ทรงสนพระทัยต่อทรัพยากรปลา
และกิจการการประมงของประเทศไทยเป็นพิเศษ
นายบัญชา สุขแก้ว ประมงจังหวัดจันทบุรี กล่าวว่า สำหรับปลาบู่มหิดล
ถือเป็นปลาพื้นเมืองของจังหวัดจันทบุรี และถือเป็นปลาประวัติศาสตร์ของประเทศไทย
ที่มีการค้นพบเป็นครั้งแรก
เนื่องจากบริเวณดังกล่าวมีความอุดมสมบูรณ์ทางทรัพยากรธรรมชาติ
และมีสภาพภูมิศาสตร์ที่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของปลาบู่
แต่ด้วยปัจจุบันสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป
รวมถึงอุปกรณ์ประกอบอาชีพทำการประมงของชาวบ้าน
ส่งผลทำให้จำนวนประชากรของปลาบู่มหิดลลดน้อยลง จนถึงขั้นใกล้สูญพันธุ์ ดังนั้น
ทางสำนักงานประมงจังหวัดจึงร่วมกับศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งจันทบุรี
ได้พยายามที่จะอนุรักษ์ปลาบู่มหิดล
ซึ่งขณะนี้ได้นำปลาดังกล่าวมาทำการศึกษาต่อเพื่อเตรียมขยายพันธุ์ต่อไป
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น